วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วรรณคดีไทย

ความหมายของวรรณคดี



วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

ประเภท
วรรณคดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • วรรณคดีมุขปาฐะ
คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น
  • วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์
เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย

[แก้] วรรณคดีในภาษาไทย

  • วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6
  • วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมสะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

[แก้] วรรณคดีในภาษาไทย

วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้

[แก้] อาชีพการประพันธ์

งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี
การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  • วรรณคดีคำสอน
  • วรรณคดีศาสนา
  • วรรณคดีนิทาน
  • วรรณคดีลิลิต
  • วรรณคดีนิราศ
  • วรรณคดีเสภา
  • วรรณคดีบทละคร
  • วรรณคดีเพลงยาว
  • วรรณคดีคำฉันท์
  • วรรณคดียอพระเกียรติ
  • วรรณคดีคำหลวง
  • วรรณคดีปลุกใจ

[แก้] อ้างอิง

วรรณคดีในภาษาไทย ตรงกับคำว่า "Literature ในภาษาอังกฤษ" โดยคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาติน แปลว่า การศึกษา ระเบียบของภาษา ซึ่งในภาษาอังกฤษจะมีความหมายหลายอย่าง ดังนี้
  1. อาชีพการประพันธ์
  2. งานเขียนในสมัยใดสมัยหนึ่ง
  3. งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ และผู้อ่านทั่วไป
สำหรับในภาษาไทย วรรณคดี ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยมีความหมายคือ หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี นั้นคือมีการใช้ภาษาอย่างดี มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะการใช้คำ ศิลปะการใช้โวหารและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และภาษานั้นให้ความหมายชัดเจน ทำให้เกิดการโน้มน้าวอารมณ์ผู้อ่านให้คล้องตามไปด้วย กล่าวง่ายๆ คือ เมื่อผู้อ่าน ๆ แล้วทำให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ตื่นเต้นดื่มด่ำ หนังสือเล่มใดอ่านแล้วมีอารมณ์เฉยๆ ไม่ซาบซึ้งตรึงใจและทำให้น่าเบื่อถือว่าไม่ใช่วรรณคดี หนังสือที่ทำให้เกิดความรู้สึกดื่มด่ำดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง คือทำให้เกิดอารมณ์ความนึกคิดในทางที่ดีงาม ไม่ชักจูงในทางที่ไม่ดี
การศึกษาวรรณคดีโดยวิเคราะห์ตามประเภท สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
  1. วรรณคดีคำสอน
  2. วรรณคดีศาสนา
  3. วรรณคดีนิทาน
  4. วรรณคดีลิลิต
  5. วรรณคดีนิราศ
  6. วรรณคดีเสภา
  7. วรรณคดีบทละคร
  8. วรรณคดีเพลงยาว
  9. วรรณคดีคำฉันท์
  10. วรรณคดียอพระเกียรติ
  11. วรรณคดีคำหลวง
  12. วรรณคดีปลุกใจ
ความหมายของวรรณคดี
        เนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดี กับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำ มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า "วรรณคดี" ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2457 ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ" (เช่นเรียกเรื่องท้าวบาเจืองหรือท้าวฮุ่งท้าวเจืองที่ทางเวียงจันทร์ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า "หนังสือเจียง" หรือเรียกเรื่องมหาภารตะว่า "หนังสือมหาภารตะ" เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อผู้แต่งกับชื่อลักษณะคำประพันธ์และประเภทของเนื้อหา (เช่น นิราศนรินทร์คำโคลงหรือนิราศพระยาตรัง เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อลักษณะคำประพันธ์และเหตุการณ์หรือโอกาสที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ ขึ้น (เช่น เพลงยางหรือกลอนนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง หรือโคลงนิราศเวียงจันทร์         พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร เป็นต้น) (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. 2541 : 15) และคำว่า "วรรณคดี" นี้รู้จักกันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ทรงตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น วัตถุประสงค์ของสโมสรนี้ก็เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวรรณคดีคือ การพิมพ์เผยแพร่วรรณคดีโบราณ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ทวาทศมาส และนิราศพระยาตรัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตรวจคัดหนังสือที่แต่งดี เพื่อรับพระบรมราชานุญาตประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว หนังสือใดที่โบราณคดีสโมสรนี้ประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วก็ได้ชื่อว่าเป็น "วรรณคดี" ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็น "หนังสือดี"
        ต่อมาใน พ.ศ. 2457 คำว่า "วรรณคดี" จึงได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือ เช่นเดียวกับกิจการของโบราณคดีสโมสร และงานที่สำคัญของวรรณคดีสโมสรนี้ก็คือการพิจารณายกย่องหนังสือสำคัญของชาติว่าเรื่องใดเป็นยอดทางไหน (สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. 2520 : 1-3)สำหรับคำว่า "วรรณคดี" ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลายดังนี้ คือ
      คำว่า "วรรณคดี" ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
สิทธา พินิจภูวดล , รื่นฤทัย สัจจพันธ์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (2524 : 1) ได้อธิบายเพิ่มเติมความหมายของวรรณคดีที่ว่าเป็นหนังสือแต่งดี นั้นได้แก่ บทประพันธ์ทุกชนิดที่ผู้แต่งมีวิธีเขียนที่ดีมีศิลปะ ก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่านสร้างความสนุกเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านมีมโนภาพไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจไปตามความรู้สึกของผู้แต่ง บางครั้งผู้แต่งจะสอดแทรกความรู้และทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ ลงในงานของเขา แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้แต่งมุ่งให้ความรู้หรือมุ่งสอนปรัชญา ศีลธรรม หรือเรื่องของชีวิต ทั้งนี้เพราะวรรณคดีไม่ใช่ตำราซึ่งมุ่งสอนความรู้เป็นสำคัญ ถ้าตำราเล่มใดมีลักษณะเป็นวรรณคดีก็จะได้รับการยกย่อง เช่น ไตรภูมิพระร่วง ปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น วรรณคดีเป็นที่รวมความรู้สึกนึกคิด ความรอบรู้ ความฉลาด และสติปัญญาอันลึกซึ้ง คนที่อ่านวรรณคดีก็จะได้รับถ่ายทอดความฉลาดรอบรู้ไว้ด้วยมากบ้างน้อยบ้าง
        ชลธิรา กลัดอยู่ (อ้างถึงใน สนิท ตั้งทวี. 2528 : 1) อธิบายว่า วรรณคดี มีความหมายที่ใช้กันทั่วไปสองประการ คือ ความหมายประการแรกได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงออกมาเป็นตัวหนังสือหรือนัยหนึ่งหมายถึงหนังสือทั่วไปนั่นเอง แต่มีเงาความหมายว่าเป็นหนังสือเก่าถือเป็นมรดกที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ส่วนความหมายที่สอง มีความหมายคล้ายคลึงกับคำ "กวีนิพนธ์" คือถือว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องแล้วจากกลุ่มคนที่นับว่าเป็นคนชั้นนำในวงการหนังสือ มีนัยลึกลงไปอีกว่ามีคุณค่าสูงส่งเข้าขั้นวรรณศิลป์ คือเป็นแบบอย่างที่ยกย่องเชิดชูกันต่อไป
        เจือ สตะเวทิน (2514 : 8) กล่าวว่า วรรณคดี คือหนังสือหรือบันทึกความคิดที่ดีที่สุดด้วยท่วงทำนองเขียน (Style) ที่ประณีตบรรจงครบองค์แห่งศิลปะของการเขียน สามารถดลใจให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดความปิติเพลิดเพลิน มีความรู้สึกร่วมกับผู้แต่ง เห็นจริงเห็นจังกับผู้แต่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า มีความสะเทือนอารมณ์ ทั้งต้องประกอบไปด้วยคุณค่าสาระอีกด้วย
        ส่วน วิทย์ ศิวะศริยานนท์ (2519 : 5) อธิบายว่า บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินให้เกิดความสำนึกคิด (Imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ (Form) และรูปศิลปะนี้เองที่ทำให้วรรณคดีมีความงาม
        ศุภชัย รัตนโกมุท และสะอาด อินทรสาลี (2518 : 2) กล่าวว่า วรรณคดีคือหนังสือแต่งดี ได้รับยกย่องจากผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าแต่งดี จะเป็น "ร้อยแก้ว" เช่น สามก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือจะเป็น "ร้อยกรอง" เช่น ลิลิตพระลอ หรือบทละครเรื่องอิเหนา ของ
รัชกาลที่ 2 ก็ได้ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า วรรณคดีเป็นนามธรรมที่เราตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่อักษรศาสตร์ กวีได้ใช้ความสามารถรจนาเรื่องนั้น ๆ ขึ้น เช่น จัดวรรคคำ เสียงคำ ให้ได้ความหมาย เกิดอารมณ์ เกิดสุนทรียะ ได้อ่านเรื่องแล้วรู้สึกเพลิดเพลินเกิดอารมณ์คล้อยตามท้องเรื่อง ส่งเสริมความรอบรู้ มีสำนวนโวหารงดงาม ไพเราะ คมคาย จูงใจให้เกิดความซาบซึ้ง เพราะใช้คำได้เหมาะกับโอกาส เหตุการณ์ เป็นต้น
        พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2506 : 3) ทรงให้คำจำกัดความของวรรณคดีไว้ว่า "วรรณคดีโดยแท้ เป็นศิลปกรรมหรือสิ่งสุนทร ซึ่งนักประพันธ์มีความรู้สึกนึกคิดอย่างใดแล้ว ก็ระบายภาพให้ผู้อ่านได้ชมความงามตามที่นักประพันธ์รู้สึกนึกคิดไว้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมาย ของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ( 2517 : 190) ที่กล่าวว่า งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดี มักจะได้รับการยกย่องในทางความงามและทางความดีด้วย
        สำหรับพระยาอนุมานราชธน (2515 : 8) ได้ให้ความหมายว่า วรรณคดีในความหมายอีกนัยหนึ่ง หมายถึงบทประพันธ์ซึ่งมีลักษณะเด่นในเชิงประพันธ์ มีค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน ผู้ฟังคือ วรรณคดีมีวรรณศิลป์
        วิลเลียม เจ. ลอง ( Long. 1964 : 3) กล่าวว่า วรรณคดี ในความหมายกว้าง ๆ หมายเอาเพียง การจดบันทึกของเผ่าพันธุ์ ซึ่งรวมเอาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บทกวีและข้อเขียนแบบนวนิยายของเผ่าพันธุ์นั้น ๆ ในความหมายแคบ วรรณคดี คือการบันทึกชีวิตแบบมีศิลป์ สรุปแล้ววรรณคดี หมายถึง การแสดงออกซึ่งชีวิตในลักษณะข้อเท็จจริงและความสวยงาม วรรณคดีเป็นบันทึกชีวิต ความคิด อารมณ์ และแรงดลใจของมนุษยชาติ วรรณคดีคือประวัติศาสตร์ทางวิญญาณของมนุษย์ (กุเทพ ใสกระจ่าง, พระมหา. 2521 : 8)
        อาร์โนล เบนเน็ท (Arnold Bennett) (อ้างถึงใน สิทธา พินิจภูวดล. 2515 : 5) อธิบายว่า วรรณคดีคือ การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจของกวี อันเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งจับใจของชีวิต
        ส่วนข้อคิดเห็นใน The Great World Encyclopedia (Clapham 1984 : 38) ได้อธิบายว่า วรรณคดี เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่ สำคัญ และน่าจดจำ ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากความคิดของมนุษย์ บางครั้งคำว่า วรรณคดี จะหมายถึง งานเขียนทุกชนิด ตั้งแต่ หนังสือพิมพ์แผ่นปลิวเอกสารประกอบการสอน ไปจนถึงบทกวีของ John Keats หรือ นวนิยายของ Charles Dickens แต่ในความเป็นจริงนั้นวรรณคดี จะหมายถึง งานเขียนที่ยังคงมีคนอ่านอยู่ในปัจจุบันนี้ดังเช่น งานของ Keats และ Dickens ขณะที่แผ่นปลิวเอกสารประกอบการสอน และหนังสือพิมพ์ อาจจะมีคนลืมหรือโยนทิ้งไปแล้ว
จากความหมายของวรรณคดีที่มีผู้ให้ไว้จำนวนมากนั้นสรุปได้ว่า วรรณคดีเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง ไม่เฉพาะแต่เพียงพิจารณาความหมายตามรูปศัพท์ แต่ต้องศึกษาถึงความหมายลึกซึ้งกว่านั้นหนังสือที่เป็นวรรณคดีจะต้องเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นด้วยความประณีตบรรจงทั้งในด้านการใช้ภาษา การแสดงความคิด รูปแบบและเนื้อหา อีกทั้งคุณค่าทางอารมณ์และความประทับใจในความงามด้านต่าง ๆ ตามที่ผู้เขียนสร้างขึ้น
        (วันเนาว์ ยูเด็น. (2537 : 5) สรุปได้ว่า วรรณคดี ก็คือ หนังสือหรืองานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงามด้านภาษา การใช้คำ มีคุณค่าเข้าขั้นวรรณศิลป์ และมีเนื้อหาที่ดีสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านให้เกิดความเพลิดเพลิน ความสำนึกคิด และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน และเพื่อให้เข้าใจความหมายของวรรณคดีให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอกล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญของวรรณคดีซึ่งพระมหากุเทพ ใสกระจ่าง (2521 : 9) ได้สรุปไว้ดังนี้
        1. มีความเป็นศิลป (Artistic) ในคุณลักษณะข้อนี้วรรณคดีต้องมีความงดงาม กล่าวคือ ต้องสะท้อนชีวิตในแง่ความเป็นจริงที่ถูกต้องงดงาม
        2. มีลักษณะของการคาดคะเน (Suggestive) วรรณคดีจะไม่อยู่ในลักษณะเปิดเผยแบบตายตัว หากแต่จะเข้าใจได้โดยการคาดคะเน การตีความหมายทางวรรณคดีจะขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของแต่ละคน การคาดคะเนอาจจะแตกต่างกันไปตามความซาบซึ้ง (Appreciation) ของคนอ่าน
        3. มีลักษณะของความคงทน (Permanent) เป็นที่น่าสังเกตว่า งานที่เป็นวรรณคดีนั้น โดยมากจะมีลักษณะคงทน กล่าวคือ เป็นที่นิยมและอยู่ในความทรงจำของคนอ่านในระยะเวลาอันยาวนาน ไม่ใช่เป็นที่นิยมกันในวันนี้วันเดียว

ความหมายของวรรณคดี        เนื่องจากมีการเข้าใจสับสนระหว่างคำว่า วรรณคดี กับวรรณกรรม อยู่เสมอ เนื่องจากทั้งสองคำ มาจากภาษาอังกฤษว่า Literature เช่นเดียวกัน สำหรับในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำว่า "วรรณคดี" ก่อนภายหลังจึงได้เกิดมีคำว่า "วรรณกรรม" ขึ้น และจริง ๆ แล้ว ในอดีตก่อนปี พ.ศ. 2457 ไทยเรายังไม่มีคำว่า "วรรณคดี" ใช้ เราเรียกหนังสือวรรณคดีว่า "หนังสือ" (เช่นเรียกเรื่องท้าวบาเจืองหรือท้าวฮุ่งท้าวเจืองที่ทางเวียงจันทร์ส่งมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า "หนังสือเจียง" หรือเรียกเรื่องมหาภารตะว่า "หนังสือมหาภารตะ" เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อผู้แต่งกับชื่อลักษณะคำประพันธ์และประเภทของเนื้อหา (เช่น นิราศนรินทร์คำโคลงหรือนิราศพระยาตรัง เป็นต้น) หรือเรียกโดยใช้ชื่อลักษณะคำประพันธ์และเหตุการณ์หรือโอกาสที่ทำให้เกิดเรื่องนั้น ๆ ขึ้น (เช่น เพลงยางหรือกลอนนิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง หรือโคลงนิราศเวียงจันทร์         พระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร เป็นต้น) (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. 2541 : 15) และคำว่า "วรรณคดี" นี้รู้จักกันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่ทรงตั้ง "โบราณคดีสโมสร" ขึ้น วัตถุประสงค์ของสโมสรนี้ก็เพื่อส่งเสริมการประพันธ์ การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี งานที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวรรณคดีคือ การพิมพ์เผยแพร่วรรณคดีโบราณ เช่น ลิลิตยวนพ่าย ทวาทศมาส และนิราศพระยาตรัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการตรวจคัดหนังสือที่แต่งดี เพื่อรับพระบรมราชานุญาตประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว หนังสือใดที่โบราณคดีสโมสรนี้ประทับพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้วก็ได้ชื่อว่าเป็น "วรรณคดี" ซึ่งในขณะนั้นถือว่าเป็น "หนังสือดี"
        ต่อมาใน พ.ศ. 2457 คำว่า "วรรณคดี" จึงได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือ เช่นเดียวกับกิจการของโบราณคดีสโมสร และงานที่สำคัญของวรรณคดีสโมสรนี้ก็คือการพิจารณายกย่องหนังสือสำคัญของชาติว่าเรื่องใดเป็นยอดทางไหน (สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. 2520 : 1-3)สำหรับคำว่า "วรรณคดี" ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลายดังนี้ คือ
      คำว่า "วรรณคดี" ตามตัวอักษร หมายความว่า "แนวทางแห่งหนังสือ" คำว่าวรรณคดี เป็นคำสมาส ประกอบด้วยคำ "วรรณ" จากรากศัพท์สันสกฤต วรณ แปลว่า หนังสือ กับคำว่า "คดี" จากรากศัพท์บาลี คติ แปลว่า การดำเนิน การไป ความเป็นไป แบบกว้าง ทาง ลักษณะ ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2539 : 754) ได้ให้ความหมายว่า หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
สิทธา พินิจภูวดล , รื่นฤทัย สัจจพันธ์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์ (2524 : 1) ได้อธิบายเพิ่มเติมความหมายของวรรณคดีที่ว่าเป็นหนังสือแต่งดี นั้นได้แก่ บทประพันธ์ทุกชนิดที่ผู้แต่งมีวิธีเขียนที่ดีมีศิลปะ ก่อให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่านสร้างความสนุกเพลิดเพลินให้แก่ผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านมีมโนภาพไปตามจินตนาการของผู้แต่ง เร้าให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจไปตามความรู้สึกของผู้แต่ง บางครั้งผู้แต่งจะสอดแทรกความรู้และทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ ลงในงานของเขา แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้แต่งมุ่งให้ความรู้หรือมุ่งสอนปรัชญา ศีลธรรม หรือเรื่องของชีวิต ทั้งนี้เพราะวรรณคดีไม่ใช่ตำราซึ่งมุ่งสอนความรู้เป็นสำคัญ ถ้าตำราเล่มใดมีลักษณะเป็นวรรณคดีก็จะได้รับการยกย่อง เช่น ไตรภูมิพระร่วง ปฐมสมโพธิกถา เป็นต้น วรรณคดีเป็นที่รวมความรู้สึกนึกคิด ความรอบรู้ ความฉลาด และสติปัญญาอันลึกซึ้ง คนที่อ่านวรรณคดีก็จะได้รับถ่ายทอดความฉลาดรอบรู้ไว้ด้วยมากบ้างน้อยบ้าง
        ชลธิรา กลัดอยู่ (อ้างถึงใน สนิท ตั้งทวี. 2528 : 1) อธิบายว่า วรรณคดี มีความหมายที่ใช้กันทั่วไปสองประการ คือ ความหมายประการแรกได้แก่ หนังสือที่เรียบเรียงออกมาเป็นตัวหนังสือหรือนัยหนึ่งหมายถึงหนังสือทั่วไปนั่นเอง แต่มีเงาความหมายว่าเป็นหนังสือเก่าถือเป็นมรดกที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ ส่วนความหมายที่สอง มีความหมายคล้ายคลึงกับคำ "กวีนิพนธ์" คือถือว่าเป็นหนังสือที่ได้รับการยกย่องแล้วจากกลุ่มคนที่นับว่าเป็นคนชั้นนำในวงการหนังสือ มีนัยลึกลงไปอีกว่ามีคุณค่าสูงส่งเข้าขั้นวรรณศิลป์ คือเป็นแบบอย่างที่ยกย่องเชิดชูกันต่อไป
        เจือ สตะเวทิน (2514 : 8) กล่าวว่า วรรณคดี คือหนังสือหรือบันทึกความคิดที่ดีที่สุดด้วยท่วงทำนองเขียน (Style) ที่ประณีตบรรจงครบองค์แห่งศิลปะของการเขียน สามารถดลใจให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดความปิติเพลิดเพลิน มีความรู้สึกร่วมกับผู้แต่ง เห็นจริงเห็นจังกับผู้แต่ง เรียกกันเป็นสามัญว่า มีความสะเทือนอารมณ์ ทั้งต้องประกอบไปด้วยคุณค่าสาระอีกด้วย
        ส่วน วิทย์ ศิวะศริยานนท์ (2519 : 5) อธิบายว่า บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดี คือ บทประพันธ์ที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินให้เกิดความสำนึกคิด (Imagination) และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน นอกจากนี้บทประพันธ์ที่เป็นวรรณคดีจะต้องมีรูปศิลปะ (Form) และรูปศิลปะนี้เองที่ทำให้วรรณคดีมีความงาม
        ศุภชัย รัตนโกมุท และสะอาด อินทรสาลี (2518 : 2) กล่าวว่า วรรณคดีคือหนังสือแต่งดี ได้รับยกย่องจากผู้อ่านหลาย ๆ คนเห็นพ้องต้องกันว่าแต่งดี จะเป็น "ร้อยแก้ว" เช่น สามก๊ก ฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือจะเป็น "ร้อยกรอง" เช่น ลิลิตพระลอ หรือบทละครเรื่องอิเหนา ของ
รัชกาลที่ 2 ก็ได้ พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า วรรณคดีเป็นนามธรรมที่เราตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาแต่อักษรศาสตร์ กวีได้ใช้ความสามารถรจนาเรื่องนั้น ๆ ขึ้น เช่น จัดวรรคคำ เสียงคำ ให้ได้ความหมาย เกิดอารมณ์ เกิดสุนทรียะ ได้อ่านเรื่องแล้วรู้สึกเพลิดเพลินเกิดอารมณ์คล้อยตามท้องเรื่อง ส่งเสริมความรอบรู้ มีสำนวนโวหารงดงาม ไพเราะ คมคาย จูงใจให้เกิดความซาบซึ้ง เพราะใช้คำได้เหมาะกับโอกาส เหตุการณ์ เป็นต้น
        พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (2506 : 3) ทรงให้คำจำกัดความของวรรณคดีไว้ว่า "วรรณคดีโดยแท้ เป็นศิลปกรรมหรือสิ่งสุนทร ซึ่งนักประพันธ์มีความรู้สึกนึกคิดอย่างใดแล้ว ก็ระบายภาพให้ผู้อ่านได้ชมความงามตามที่นักประพันธ์รู้สึกนึกคิดไว้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมาย ของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ( 2517 : 190) ที่กล่าวว่า งานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดี มักจะได้รับการยกย่องในทางความงามและทางความดีด้วย
        สำหรับพระยาอนุมานราชธน (2515 : 8) ได้ให้ความหมายว่า วรรณคดีในความหมายอีกนัยหนึ่ง หมายถึงบทประพันธ์ซึ่งมีลักษณะเด่นในเชิงประพันธ์ มีค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน ผู้ฟังคือ วรรณคดีมีวรรณศิลป์
        วิลเลียม เจ. ลอง ( Long. 1964 : 3) กล่าวว่า วรรณคดี ในความหมายกว้าง ๆ หมายเอาเพียง การจดบันทึกของเผ่าพันธุ์ ซึ่งรวมเอาประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บทกวีและข้อเขียนแบบนวนิยายของเผ่าพันธุ์นั้น ๆ ในความหมายแคบ วรรณคดี คือการบันทึกชีวิตแบบมีศิลป์ สรุปแล้ววรรณคดี หมายถึง การแสดงออกซึ่งชีวิตในลักษณะข้อเท็จจริงและความสวยงาม วรรณคดีเป็นบันทึกชีวิต ความคิด อารมณ์ และแรงดลใจของมนุษยชาติ วรรณคดีคือประวัติศาสตร์ทางวิญญาณของมนุษย์ (กุเทพ ใสกระจ่าง, พระมหา. 2521 : 8)
        อาร์โนล เบนเน็ท (Arnold Bennett) (อ้างถึงใน สิทธา พินิจภูวดล. 2515 : 5) อธิบายว่า วรรณคดีคือ การแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจของกวี อันเกิดจากการสัมผัสกับสิ่งจับใจของชีวิต
        ส่วนข้อคิดเห็นใน The Great World Encyclopedia (Clapham 1984 : 38) ได้อธิบายว่า วรรณคดี เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่ สำคัญ และน่าจดจำ ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากความคิดของมนุษย์ บางครั้งคำว่า วรรณคดี จะหมายถึง งานเขียนทุกชนิด ตั้งแต่ หนังสือพิมพ์แผ่นปลิวเอกสารประกอบการสอน ไปจนถึงบทกวีของ John Keats หรือ นวนิยายของ Charles Dickens แต่ในความเป็นจริงนั้นวรรณคดี จะหมายถึง งานเขียนที่ยังคงมีคนอ่านอยู่ในปัจจุบันนี้ดังเช่น งานของ Keats และ Dickens ขณะที่แผ่นปลิวเอกสารประกอบการสอน และหนังสือพิมพ์ อาจจะมีคนลืมหรือโยนทิ้งไปแล้ว
จากความหมายของวรรณคดีที่มีผู้ให้ไว้จำนวนมากนั้นสรุปได้ว่า วรรณคดีเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง ไม่เฉพาะแต่เพียงพิจารณาความหมายตามรูปศัพท์ แต่ต้องศึกษาถึงความหมายลึกซึ้งกว่านั้นหนังสือที่เป็นวรรณคดีจะต้องเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นด้วยความประณีตบรรจงทั้งในด้านการใช้ภาษา การแสดงความคิด รูปแบบและเนื้อหา อีกทั้งคุณค่าทางอารมณ์และความประทับใจในความงามด้านต่าง ๆ ตามที่ผู้เขียนสร้างขึ้น
        (วันเนาว์ ยูเด็น. (2537 : 5) สรุปได้ว่า วรรณคดี ก็คือ หนังสือหรืองานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงามด้านภาษา การใช้คำ มีคุณค่าเข้าขั้นวรรณศิลป์ และมีเนื้อหาที่ดีสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านให้เกิดความเพลิดเพลิน ความสำนึกคิด และอารมณ์ต่าง ๆ ตามผู้เขียน และเพื่อให้เข้าใจความหมายของวรรณคดีให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอกล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญของวรรณคดีซึ่งพระมหากุเทพ ใสกระจ่าง (2521 : 9) ได้สรุปไว้ดังนี้
        1. มีความเป็นศิลป (Artistic) ในคุณลักษณะข้อนี้วรรณคดีต้องมีความงดงาม กล่าวคือ ต้องสะท้อนชีวิตในแง่ความเป็นจริงที่ถูกต้องงดงาม
        2. มีลักษณะของการคาดคะเน (Suggestive) วรรณคดีจะไม่อยู่ในลักษณะเปิดเผยแบบตายตัว หากแต่จะเข้าใจได้โดยการคาดคะเน การตีความหมายทางวรรณคดีจะขึ้นอยู่กับการคาดคะเนของแต่ละคน การคาดคะเนอาจจะแตกต่างกันไปตามความซาบซึ้ง (Appreciation) ของคนอ่าน
        3. มีลักษณะของความคงทน (Permanent) เป็นที่น่าสังเกตว่า งานที่เป็นวรรณคดีนั้น โดยมากจะมีลักษณะคงทน กล่าวคือ เป็นที่นิยมและอยู่ในความทรงจำของคนอ่านในระยะเวลาอันยาวนาน ไม่ใช่เป็นที่นิยมกันในวันนี้วันเดียว

          มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด    ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง 10 ประการ
จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ" และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรืก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติมหาเวสสันดรชาดก
 ที่มาของมหาเวสสันดรชาดก

         ชาดกเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งใน นิบาตชาดก มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เรามักเรียกนิบาตชาดกเป็นไทยๆว่า พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ นิบาตชาดกเป็นคัมภีร์ซึ่งประกอบไปด้วยนิทานเรื่องต่างๆ ล้วนเป็นอุทาหรณ์สอนธรรมะเล่าถึงการเสวยพระชาติในอดีตของพระพุทธเจ้าว่าชาติใดทรงเกิดเป็นอะไร และได้ทรงกระทำคุณความดี หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์ว่า "บำเพ็ญบารมี" อะไรในพระชาตินั้นๆ       พระชาติหนึ่งก็ทรงสร้างคุณความดีหรือบารมีอย่างหนึ่งทุกชาติไป ในจำนวน ๕๕๐ พระชาติที่ปรากฏในนิบาตชาดกนั้นได้บำเพ็ญบารมีเด่นยิ่งอยู่ ๑๐ ชาติ ที่เรียกกันว่า ทศชาติ ทรงบำเพ็ญทศบารมี คัมภีร์ที่กล่าวถึงทศชาติและบารมีนี้เรียกว่า คัมภีร์มหานิบาต ในทศชาติตามมหานิบาตนั้น ที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือ พระชาติที่ทรงบังเกิดเป็นพระเวสสันดร นอกจากจะทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นที่เด่นที่สุดแล้วยังทรงบำเพ็ญบารมีอื่นๆ อันได้กระทำแล้วใน๙ พระชาติก่อนๆ อีกด้วย เท่ากับได้ทรงกระทำคุณความดีเด่นยิ่งครบ ๑๐ ประการในชาตินี้ มหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บางครั้งจึงเรียกชาดกเรื่องนี้ว่า มหาชาติ
 
ที่มารูปภาพ
 
        มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องสูงส่ง แสดงให้เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนของพระเวสสันดร เพื่อเป็นทางนำไปสู่พระโพธิญาณ เมื่อได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วก็มิได้รับประโยชน์เฉพาะตน แต่ได้นำมาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วย
        มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานเหลือมา หนังสือวสสันดรชาดกเพิ่งมามีลายลักษณ์อักษรแน่นอนเมื่องครั้งกรุงศรีอยุธยา
        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าโปรกกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล จุลศักราช 44 คือพ.ศ. 2025 เรียกชื่อว่า "มหาชาติ" เป็นคำคละกันมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย มีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา  ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้รุจนามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก เมื่อจุลศักราช 964 คือพ.ศ. 2145 เรียกชื่อว่า "กาพย์มหาชาติ" เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศน์ 
 
 
       
         หนังสือกาพย์มหาชาติให้จบในวันเดียวไม่ได้ จึงมีผู้แต่งกัณฑ์ต่างๆขึ้นใหม่ เพื่อย่นย่อให้สั้นเข้าและเทศน์จบภายในวันเดียวปรากฎว่ามีผู้แต่งมากมายหลายสำนวน คำประพันธ์ที่ใช้ก็ใช้ร่ายยาวเป็นพื้นแต่เรียกชื่อกันใหม่ว่า "มหาชาติกลอนเทศน์"
         มหาชาติกลอนเทศน์นี่เองที่รวมกันเข้าเป็น "ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก" คือท่านนักปราชญ์ เลือกเฟ้นเอากลอนเทศน์ที่สำนวนดีมารวมกันเข้า งานนี้เริ่มมาตั้งแต่พ.ศ. 2449 และสำเร็จเรียบง่ายบริบูรณ์เมื่อพ.ศ. 2452 ในรัชกาลที่ 5 และใช้เป็นแบบเรียนสืบเนื่องกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
มหาเวสสันดรชาดก มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ ดังนี้
1.กัณฑ์ทศพร
2.กัณฑ์หิมพานต์
3.กัณฑ์ทานกัณฑ์
4.กัณฑ์วนปเวสน์
5.กัณฑ์ชูชก
6.กัณฑ์จุลพน
7.กัณฑ์มหาพน
8.กัณฑ์กุมาร
9.กัณฑ์มัทรี
10.กัณฑ์สักกบรรณ
11.กัณฑ์มหาราช
12.กัณฑ์ฉกษัตริย์
13.กัณฑ์นครกัณฑ์




ลิลิตพระลอ1
 
ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือโคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต"

         วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ ลิลิตที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของกลอนลิลิต คือ ลิลิตพระลอ
ความเป็นมาของลิลิตไม่ปรากฏแน่ชัด โดยสืบค้นได้เก่าสุดถึง สมัยอยุธยา ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย และลิลิตพระลอ (สำหรับอายุของลิลิตพระลอยังเป็นที่ถกเถียง ยังไม่ยุติ) แต่ถ้าจะนับอย่างธรรมเนียมลิลิตแล้ว น่าจะมีเพียงลิลิตพระลอ เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เนื่องจากในยวนพ่ายนั้น มีร่ายนำ 1 บท แล้วมีร่ายแทรกตอนปลายๆ (ไม่ใช่ท้ายเรื่อง)กลางเรื่องอีก 1 บทเท่านั้น ส่วนลิลิตพระลอนั้น แต่งด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพอย่างหลากหลาย สลับเป็นช่วงๆ (โปรดอ่านรายละเอียดในหัวข้อ ลิลิตพระลอ) มีทั้งโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีร่ายสอดสร้อยอีกด้วย
 
 


          ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดแห่ง ลิลิต เมื่อ พ.ศ. 2459 แต่งขึ้นอย่างประณีต งดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอยังเคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์
 
           ในวรรณคดีประเภทลิลิตแล้ว ลิลิตพระลอนั้นนับว่าเป็นลิลิตที่มีศิลปะในการเรียบเรียงได้ไพเราะจับใจยิ่งนัก จนวรรณคดีสโมสรได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2459 ว่าลิลิตพระลอนั้นเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย ในเพชรพระอุมานั้นมีการกล่าวถึงลิลิตพระลอในตอนที่คณะเดินทางได้พบกับเสือโคร่งดำหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าผีดิบมันตรัยนั่นเอง ระหว่างการเดินทาง เจ้าเสือโคร่งดำนั้นพยายามหลอกล่อให้รพินทร์ออกไปตามมัน เพื่อจะได้อยู่ห่างจากคณะจนทำให้ เชษฐาต้องเข้ามาเตือนรพินทร์และไม่ให้ออกจากขบวนเด็ดขาดโดยกล่าวว่า

ลิลิตพระลอ2
 
- สาระสำคัญ
        เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
        กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อน พระองค์น้องพระนามว่า พระแพง พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ทรงต้องพระทัยในพระลอยิ่งนัก ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยเห็น นางรื่นกับนางโรย สองพระพี่เลี้ยงรู้ความจริง ด้วยความสงสารจึงทูลอาสาเข้าช่วยเหลือให้สมกับพระประสงค์ ส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง ไปหาหญิงแม่มดให้ช่วยทำเสน่ห์ แต่แม่มดปฏิเสธเพราะมนตร์เสน่ห์ของตนหมดฤทธ์ขลังเสียแล้ว แม่มดจึงพาไปหาปู่เจ้าสมิงพราย ปู่เจ้าสมิงพรายให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเองสรอง
        พระลอต้องมนตร์เสน่ห์เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
        เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่ผีของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอ จากนั้นก็พาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระแพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
        เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
        จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเอน และพระแพง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
        นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง ดังนี้ 659.จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์ ยอยศพระลอคน หนึ่งแท้ พี่เลี้ยงอาจเอาตน ตายก่อน พระนา ในโลกนี้สุดแล้ เลิศล้ำคุงสวรรค์ฯ 660.จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง กลอนกล่าวพระลอยง ยิ่งผู้ ใครฟังย่อมใหลหลง ฤๅอิ่ม ฟังนา ดิเรกแรกรักชู้ เหิ่มแท้รักจริงฯ
        จากโคลงข้างบน มีผู้เสนอว่า "มหาราช" คือกษัตริย์ เป็นผู้แต่ง และ "เยาวราช"เป็นผู้เขียน (บันทึก) และสันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. 2034-2072
        อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่าน เสนอว่า น่าจะอยู่ในสมัยพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089)เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ
 
- คุณค่าของลิลิตพระลอ
      1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่าคุณค่าของลิลิตพระลอ

                                                     “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
                                                      เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
                                                      สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
                                                      สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ”
        แปลความว่า มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง
      
      2. ในด้านพระศาสนา ได้ให้แง่คิดทางศาสนา อย่างเช่น ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า
                                                      สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง
                                                      คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
                                                      คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา
                                                      ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา
                                                      หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม
                                                      ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย
                                                      กรรมบ่มีมีใคร ฆ่าเข้า
                                                      กุศลส่งสนองไป ถึงที่ สุขนา
                                                      บาปส่งจำตกช้า ช่วยได้ฉันใด
1. ในด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็รอิสระ เป็นใหณ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้
2. ในด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่
3. ในด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสย
        ลิลิตพระลอ มีลักษณะเป็นลิลิต คือ เป็นโคลงกันร่ายปนกัน ในวงวรรณกรรมถือว่า ลิลิตพระลอเป็นยอดวรรณกรรมประเภทนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานคำอธิบายเกี่ยวกับลิลิตพระลอไว้ว่าเรื่องพระลอ แต่งในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งเป็นผู้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ไม่ทราบว่าเป็นองค์ใด เดี๋ยวจะมีการสันนิษฐานกัน ท่านบอกว่า แต่งในสมัยอยุธยาเหมือนกัน เป็นนิทานเรื่องทางอาณาเขตลานนา ปัจจุบันเรียก ล้านนา (มณฑลพายัพ) ดูเหมือนพระเจ้าแผ่นดินองค์ใดองค์หนึ่งพระราชนิพนธ์ ในเวลาที่ทรงพระยศเป็นพระราชโอรส อันนี้เป็นการสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

        ลิลิตพระลอเป็นนิยายประจำท้องถิ่นภาคเหนือของไทย เรื่องเกิดขึ้นในแคว้นล้านนา ระหว่าง พ.ศ. 1616 ถึง 1691 สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และลำปาง พระวรเวทย์พิศิษ ท่านสันนิษฐานไว้ ด้วยเหตุที่ว่า เมืองสรอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงนั้น ปัจจุบันยังตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม ตอนเหนือของเมืองร้องกวาง จ.แพร่ ส่วนอีกกรณีคือ เมืองแดนสรวง เรียกสั้นๆ ว่า เมืองสรวง ซึ่งเป็นเมืองของพระลอ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเมืองกาหลง อยู่ใน อ.แจ้หลบ จ.ลำปาง แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะอยู่ที่ อ.แม่สวย จ.เชียงราย และน่าจะมีพื้นฐานมาจากเรื่องจริง



  สังทองตอน 1
 
 
 
                  กาลปางก่อน มีพระเจ้าพรหมทัต(ท้าวยศวิมล) ครองเมืองพรหมนคร(เมืองยศวิมล)
         พระเจ้าพรหมทัตมีมเหสีสององค์  มเหสีฝ่ายขวา ชื่อพระนางจันทราเทวี      (นางจันเทวี)
        มเหสีฝ่ายซ้าย  ชื่อพระนางสุวรรณจัมปากะ   (นางจันทา)    พระเจ้าพรหมทัตโปรดมเหสี
          ฝ่ายซ้ายมาก ต่อมามเหสีทั้งสองทรงครรภ์ โหรทำนายว่าบุตร  ของมเหสีฝ่ายขวาเป็นชาย
        ส่วนมเหสีฝ่ายซ้ายเป็นหญิง   พระนางสุวรรณจัมปากะ  รู้สึกเสียใจที่จะได้ธิดาแทนจะเป็น
      โอรส และเกรงว่าพระนางจันทราเทวีจะได้ดีกว่า จึงใส่ร้ายพระนางจันทราเทวีจนพระเจ้า
       พรหมทัตหลงเชื่อขับไล่พระนางจันทราเทเวีออกจากพระราชวัง  พระนางจันทราเทวีเดิน
            ทางด้วยความยากลำบาก   เมื่อถึงชายป่านอกเมือง  ยายตาสองคนสงสาร จึงชวนให้พักอยู่
        ด้วยโอรสในครรภ์ของพระนางจันทราเทวีเห็นความยากลำบากของพระมารดา   จึงแปลง
         กายเป็นหอยสังข์เพื่อไม่ให้พระมารดาต้องลำบากเลี้ยงดู เมื่อครบกำหนดคลอด    พระนาง
       จันทราเทวีก็คลอดโอรสออกมาเป็นหอยสังข์ ซึ่งพระนางก็รักใคร่ เลี้ยงดูเหมือนลูกมนุษย์

          วันหนึ่งพระนางจันทราเทวี  ออกจากบ้านไปช่วยตายายเก็บผักหักฟืน ลูกน้อยในหอยสังข์ก็ออกจากรูปหอยสังข์ช่วยปัดกวาดบ้าเรือน และหุงหาอาหารไว้  พอเสร็จก็กลับเข้าไปในรูปหอยสังข์ตามเดิม พระนางจันทราเทวี เมื่อกลับมาก็แปลกใจ ว่าใครมาช่วยทำงานและเมื่อนางจันทราเทวีออกจากบ้านไป ลูกน้อยในหอยสังข์ก็จะออกมาทำงานบ้านให้เรียบร้อยทุกครั้ง พระนางจันทราเทวีอยากรู้ว่าเป็นใคร  วันหนึ่งจึงทำทีออกจากบ้านไปป่าเช่นเคย แต่แล้วก็ย้อยกลับมาที่บ้าน โอรสในหอยสังข์ก็ออกมาทำงานบ้าน พระนางจันทราเทวีเห็นโอรสเป็นมนุษย์ก็ดีใจ จึงทุบหอยสังข์เสียและกอดโอรสด้วยความยินดี และตั้งชื่อให้ว่า " สังข์ทอง "

          เมื่อพระเจ้าพรหมทัต รู้ข่าวว่าพระนางจันทราเทวี ประสูติพระโอรส  ก็ยินดีจะรับพระนางจันทราเทวีกลับ  พระนางสุวรรณจัมปากะเทวี  ริษยาจึงได้เท็จทูล  ว่าพระโอรสเดิมเป็นหอยสังข์   พระเจ้าพรหมทัตก็หลงเชื่อเกรงจะเป็นกาลกิณีต่อบ้านเมือง จึงให้อำมาตย์จับพระนางจันทราเทวีและลูกน้อยสังข์ทองใส่แพลอยไป  เมื่อแพลอนออกทะเลเกิดพายุใหญ่แพแตก พระนางจันทราเทวีถูกคลื่นซัดลอยไปติดที่ชายหาดเมืองมัทราษฎร์ พระนางก็เดินทางซัดเซพเนจรไปอาศัยบ้านเศรษฐีเมืองมัทราษฎร์ชื่อ ธนัญชัยเศรษฐีและทำหน้าที่เป็นแม่ครัว
          ฝ่ายพระสังข์ทอง   นั้นจมน้ำลงไปยังนาคพิภพ  พระยานาคมีจิตสงสารจึงเนรมิตเรือทอง แล้วอุ้มพระสังข์ทองใส่ไว้ในเรือ           เรือทองลอยไปถึงเมืองยักษ์ซึ่งนางยักษพันธุรัตปกครองอยู่  นางยักษ์เห็นพระสังข์ทองในเรือทอง เกิดความรักใคร่เอ็นดูจึงนำพระสังข์ทอง
มาเลี้ยงดูในปราสาท   และให้พี่เลี้ยงนางนมแปลงร่างเป็นคน เพื่อมิให้พระสังข์ทองหวาดกลัวพระสังข์ทองก็เติบโตอยู่กับนางยักษ์พันธุรัต
 
 ที่มารูป 
          นางยักษ์พันธุรัตปกติจะต้องออกไปหาสัตว์ป่ากินเป็นอาหาร เมื่อนางออกไปป่าก็จะไปครั้งละสามวันหรือเจ็ดวันทุกครั้งที่ไป ก็จะสั่งพระสังข์ทองว่าอย่าขึ้นไปเล่นบนปราสาทชั้นบน  และ ในสวน  พระสังข์ทองก็เชื่อฟัง แต่เมื่อโตขึ้นก็เกิดความสงสัยอยากรู้ วันหนึ่งเมื่อนางยักษ์พันธุรัตไปป่า  พระสังข์ทองก็แอบไปในสวนส่วนที่ห้ามไว้  เห็นกระดูกสัตว์และคน  เป็นจำนวนมากที่นางยักษ์กินเนื้อแล้วทิ้งกระดูกไว้เป็นจำนวนมาก พระสังข์ทองเห็นเช่นนั้นก็ตกใจ นึกรู้ว่ามารดาเลี้ยงเป็นยักษ์ก็รู้สึกหวาดกลัว  และเมื่อเดินต่อไปเห็นบ่อเงินบ่อทองสวยงาม  พอพระสังทองเอานิ้วก้อยจุ่มลงไปนิ้วก็กลายเป็นสีทอง พระสังข์ทองจึงลงไปอาบทั้งตัวร่างกาย ก็กลายเป็นสีทองงดงาม   แล้วพระสังข์ทองก็ขึ้นไปบนปราสาทชั้นบน  เห็นเกราะรูปเงาะป่า  เกือกทอง และพระขรรค์ พระสังข์ทองเอาเกราะเงาะป่ามาสวม ก็กลายร่างเป็นเงาะป่า พอใส่เกือกทองก็รู้สึกว่าลอยได้  พระสังข์ทองจึงหยิบพระขรรค์  แล้วเหาะหนีออกจากเมืองยักษ์  และข้ามแม่น้ำไปยังเมืองตักศิลาตกเย็นจึงพักอยู่ที่ศาลาริมน้ำ
           ฝ่ายนางยักษ์กลับมาไม่เห็นลูก  และขึ้นไปที่ปราสาทชั้นบน  เห็นเกราะรูปเงาะป่า เกือกทองและพระขรรค์หายไป  ก็รู้ทันทีว่าพระสังข์ทองรู้ว่าตนเป็นยักษ์แล้วหลบหนีไป  นางจึงเหาะตามไป เมื่อถึงฝั่งน้ำเห็นพระสังข์ทองพักอยู่  นางไม่สามารถเหาะข้ามไปได้
จึงร้องไห้  อ้อนวอนให้พระสังข์ทองกลับไป  พระสังข์ทองยังหวาดกลัวจึงไม่ยอมกลับ นางพันธุรัตเสียใจจนหัวใจแตกสลาย แต่ก่อนตายนางก็สอนมนต์หาเนื้อหาปลาให้  พระสังข์ทองแล้วนางก็สิ้นใจตาย  พระสังข์ทองรู้สึกเสียใจมากหลังจากได้จัดเผาศพนางยักษ์แล้ว พระสังข์ทองก็เหาะเดินทางไปเมืองพาราณสี   และได้ไปอาศัยชาวบ้านช่วยเลี้ยงโค พระสังข์ทองตอนนี้รูปร่างเป็นเงาะป่าพวกเด็กเลี้ยงโคก็มาเล่นสนิทสนมกับพระสังข์ทอง


สังทองตอน......2

 
 
ที่มารูป    http://thummada.com/php_upload/rojana.jpg
 
          ที่เมืองพาราณสีนี้เจ้าเมืองมีธิดา 7 องค์ เจ้าเมืองคิดจะให้พระธิดาทั้ง  7 องค์ได้อภิเษกสมรส จึงมีรับสั่งให้ประกาศแก่เจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ  ให้ส่งโอรสมาให้พระธิดาเลือกพระธิดาทั้ง 6 องค์ ก็เลือกได้เจ้าชายที่เหมาะสม แต่พระธิดาองค์สุดท้อง ชื่อรจนา
ไม่ยอมเลือกเจ้าชายองค์ใด   เจ้าเมืองพาราณสีทรงกริ้วมากจึงประชดโดยให้อำมาตย์ไปประกาศให้ชายทุกคนในเมือง ให้เข้ามาในวังให้พระราชธิดาเลือก  พระสังข์ทองในรูปเงาะป่าก็ถูกเกณฑ์เข้ามาด้วย เมื่อนางรจนาออกมาเลือกคู่ บุญบันดาลให้เห็นรูปทองของพระสังข์ทองแทนที่จะเป็นเงาะป่า นางจึงเลือกเงาะป่า เจ้าเมืองพาราณสีกริ้วมากขับไล่นางรจนาออกไปอยู่นอกเมือง
          เจ้าเมืองพาราณสีมีความแค้นเคืองเงาะป่าคิดจะกำจัด จึงออกคำสั่งให้เขยทั้งหกและเงาะป่าไปหาเนื้อมาคนละตัว ใครหามาไม่ได้จะถูกประหารชีวิตเงาะป่าเข้าไปในป่า ถอดรูปเงาะออกแล้วร่ายมนต์เรียกเนื้อ  เนื้อทั้งหลายก็มาอยู่ที่พระสังข์ทอง  หกเขยหาเนื้อทั้งวันก็ไม่ได้ จนกระทั่งมาพบพระสังข์ทอง ซึ่งหกเขยคิดว่าเป็นเทวดา หกเขยขอเนื้อจากพระสังข์ทอง  พระสังข์ทองให้โดยขอตัดใบหูคนละหน่อย หกเขยก็ยอมทั้งหมดก็นำเนื้อไปให้เจ้าเมืองพาราณสี
          เจ้าเมืองพาราณสียังทำร้ายเงาะป่าไม่ได้ก็แค้นใจ จึงมีคำสั่งให้เขยทุกคนหาปลาไปถวาย พระสังข์ทองก็ถอดรูปเงาะป่าแล้วร่ายมนต์เรียกปลา  ปลาก็มาออคับคั่งอยู่ที่พระสังข์ทอง  หกเขยหาปลามาไม่ได้ทั้งวัน  และเมื่อพบปลามาอออยู่ที่พระสังข์ทองก็กราบไหว้ อ้ออนวอนขอปลา  พระสังข์ทองยกให้โดยขอตัดปลายจมูกหกเขยคนละหน่อยแล้วหกเขยกับเงาะป่านำปลาไปถวายเจ้าเมืองพาราณสี
         เจ้าเมืองพาราณสีขัดแค้นใจที่ทำอันตรายเงาะป่าไม่ได้  ก็เฝ้าคิดหาวิธีการอื่นที่จะกำจัดเงาะป่า  พระอินทร์บนสวรรค์ทราบถึงการคิดร้ายของเจ้าเมืองพาราณสีต่อเงาะป่าจึงลงมาช่วย  โดยเหาะลงมาลอยอยู่หน้าพระที่นั่งของเจ้าเมืองพาราณสีและกล่าวท้าทายว่าให้เจ้าเมืองพาราณสีหาคนดีมีฝีมือเหาะขึ้นมาตีคลีกับพระอินทร์บนอากาศ ภายในเจ็ดวันถ้าหาไม่ได้ก็จะฆ่าเจ้าเมืองพาราณสี
 
         เจ้าเมืองพาราณสีตกใจมาก  ให้หกเขยและบรรดาเสนาอำมาตย์ช่วยกันหาผู้อาสาเหาะไปตีคลี ทุกคนก็จนปัญญา เจ้าเมืองพาราณสีจึงให้ป่าวประกาศว่าผู้ใดที่สามารถเหาะไปตีคลี  กับพระอินทร์บนอากาศได้จะยกราชสมบัติให้  แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดมาอาสา นางมณฑาเทวีพระมเหสีของเจ้าเมืองพาราณสี  จึงแอบไปหานางรจนา  และขอให้นางรจนาอ้อนวอนให้เงาะป่าช่วย  เงาะป่าสงสารทั้งสองนางจึงรับปาก และในวันที่เจ็ดเงาะป่าก็ถอดรูปเป็นพระสังข์ทอง ใส่เกือกแก้วเหาะขึ้นไปตีคลีกับพระอินทร์   จนชนะพระอินทร์ก็กลับไปบนสวรรค์
          เจ้าเมืองพาราณสีดีพระทัยมากได้ขอโทษพระสังข์ทองและยกราชสมบัติให้ตามสัญญา พระสังข์ทองขอลาไปตามหาพระนางจันทราเทวีก่อนพระสังข์ทองเดินทางไปตามเมืองต่างๆ  จนกระทั่งมาถึงเมืองมัทราษฎร์จึงไปสืบถามที่บ้านธนัญชัยเศรษฐีว่ารู้จักหญิงที่ชื่อ จันทราเทวีหรือไม่ ธนัญชัยเศรษฐีบอกว่าไม่รู้จัก  แต่ก็เชิญพระสังข์ทองอยู่รับประทานอาหาร  พระสังข์ทองสังเกตว่าอาหารมีรสปราณีต ซึ่งผู้ทำจะต้องเป็นผู้ทำอาหารถวายพระเจ้าแผ่นดิน  จึงขอพบแม่ครัวและซักถามประวัติ  ก็ทราบว่าเป็นพระนางจันทราเทวีจึงดีใจมาก และขอธนัญชัยเศรษฐีที่จะรับพระมารดากลับไป
          พระสังข์ทองนำพระมารดากลับไปอยู่ที่เมืองพาราณสี พระสังข์ทองปกครองเมืองพาราณสีจนเจริญรุ่งเรือง กิติศัพท์แพร่ไปยังนครอื่น ๆ จนถึงเมืองพรหมนคร ชาวเมืองพรหมนครก็อพยพมาอยู่เมืองพาราณสี  เสนาอำมาตย์เมืองพรหมนครจึงทูลเสนอพระเจ้าพรหมทัตว่า  พระสังข์ทองพระราชโอรสครองเมืองพาราณสี   มีความสามารถทำให้รุ่งเรือง  จึงเห็นสมควรที่จะอัญเชิญพระสังข์ทอง  มาครองเมือง
พรหมนคร เพื่อสร้างความเจริญพระเจ้าพรหมทัตเมื่อทรงทราบว่าพระโอรสยังมีชีวิตอยู่และมีความสามารถก็ยินดี  และสำนึกผิดให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ไปเมืองพาราณสีและทูล เชิญพระสังข์ทอง  และพระนางจันทราเทวีกลับเมืองพรหมนคร  พระสังข์ทองสงสารพระบิดา จึงอ้อนวอนพระมารดาให้อภัยพระเจ้าพรหมทัต  และเดินทางกลับเมืองพรหมนคร  พระเจ้าพรหมทัตก็มอบราชสมบัติให้พระสังข์ทอง ปกครองบ้านเมืองเป็นสุขสืบมา

ลักษณะคำประพันธ์เรื่องสังข์ทอง
 
        ลักษณะคำประพันธ์เรื่องสังข์ทอง
1. เป็นกลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก
และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับตายตัว

2. คำขึ้นต้นบท กลอนบทละครมีคำขึ้นต้นหลายแบบ และคำขึ้นต้นนั้นไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่ากับวรรคสดับ อาจจะมีเพียง 2 คำก็ได้ คำขึ้นต้นมีดังนี้

      2.1  มาจะกล่าวบทไป มักใช้เมื่อขึ้นต้นเรื่อง หรือกล่าวถึงเรื่องแทรกเข้ามา
      2.2  เมื่อนั้น ใช้สำหรับผู้มียศสูง หรือผู้เป็นใหญ่ในที่นั้นตามเนื้อเรื่อง เช่นกษัตริย์ ราชวงศ์
      2.3  บัดนั้น ใช้ขึ้นต้นสำหรับผู้น้อยลงมา เช่น เสนา ไพร่พล
 
กากีตอนที่....1

ท้าวพรหมทัตกษัตริย์แห่งนครพาราณสีแม้จะอายุมากแล้ว
แต่ก็มีพระมเหสีรูปงามกลิ่นกายหอมชื่อว่านางกากี  พระองค์รัก
และหลงใหลนางกากี  ไม่ให้มหาดเล็ก คนสนิทที่เป็นชายเข้าใกล้
หรือได้เห็นนางยกเว้นที่จำเป็นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น  
 
  
   หนึ่งในหนุ่มคนสนิทที่สามารถเข้าใกล้นางกากีได้คือ “นาฏกุเวร”
ผู้เป็นคนธรรพ์รูปงามมีหน้าที่บรรเลงดนตรี แต่งกลอน ขับกล่อม
ให้แก่ท้าวพรหมทัต ในยามที่พระองค์เล่นสกากีฬาโปรดปรานกับ
พระสหายสนิท
 
  
 
 
 
 
 ตามปรกติคนธรรพ์เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาที่มีความสามารถ  สูง  ยิ่งเป็นนาฏกุเวรผู้มีความเปรื่องปราชญ์ก็ยิ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางพระทัยของท้าวพรหมทัต

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มารูป       http://www.thaigoodview.com/files/u4662/1197995266.jpg
นอกจากพระประยูรญาติที่ท้าวพรหมทัตโปรดให้เล่นสกาด้วยแล้ว 
พระองค์มีสหายสนิทผู้มีความลึกลับที่มีฝีมือการทอดสกาเทียบเท่า
พระองค์นามว่าเวนไตย  เวนไตยเป็นพญาครุฑที่มีวิมานชื่อฉิมพลี
ตั้งอยู่ที่เชิงเขาพระสุเมรุเหนือดงงิ้วผู้มีร่างมาเป็นมานพรูปร่างสง่างาม
ในเมืองมนุษย์  เวนไตยไม่ยอมบอกว่าตัวเองมาจากที่ไหน  แต่ก็มา
เล่นสกากับท้าวพรหมทัตอย่างสม่ำเสมอทุกๆเจ็ดวัน
 

ที่มารูป      http://img269.imageshack.us/img269/3194/scan0002lp.jpg
 
  คำร่ำลือถึงความสง่างามของพญาเวนไตยจากสนมกำนัลมาเข้าหูนางกากี 
นางกากีลองแอบดูครั้งหนึ่งก็พอดีกับเวนไตยมองมา  ทั้งคู่ต่างตื่นเต้น
ในความงามของกันและกันทำให้เวนไตยถึงกับทำอุบายลักพานางกากีไป
จากท้าวพรหมทัต  โดยการจำแลงตัวเป็นพญาครุฑบินไปบังแสงอาทิตย์
ที่ส่องเมืองพาราณสีทำให้เมืองมืดมิดและอลหม่านจากการเกิดพายุใหญ่
กระหน่ำ  เวนไตยฉวยโอกาสนี้พาตัวนางกากีไปสมสู่ ณ วิมานฉิมพลี 
เนื่องจากนางกากีก็พึงพอใจเวนไตยเมื่อยามเป็นชายหนุ่มรูปร่างสง่างาม
ในวิมานฉิมพลี


กากีตอนที่....2


ท้าวเทวทัตเป็นทุกข์ระทมเมื่อนางกากีมเหสีสุดสวาทได้หายไป 
  ไม่สามารถตามหาได้ นาฏกุเวรผู้แอบหลงรักในรูปและกลิ่นกายของ
  นางกากีอาสานำตัวนางกากีกลับ เพราะรู้ระแคะระคายเนื่องจาก
เหตุการณ์ในวันที่เวนไตยสบตากับนางกากีไม่พ้นจากสายตาของคนธรรพ์
  หนุ่มนี้ไปได้ นาฏกุเวรได้ผูกกลอนขับกล่อมขณะที่เวนไตยเล่นสกากับ
 ท้าวพรหมทัตจนสังเกตความผิดปรกติของเวนไตยได้ เมื่อท้าวพรหมทัต
 ทรงอนุญาต การเล่นสกาครั้งต่อมานาฏกุเวรจึงแปลงร่างเป็นตัวไรเกาะ
 ปีกเวนไตยเมื่อเขากลายเป็นพญาครุฑตามไปถึงวิมานฉิมพลี
 
 
    เมื่อเวนไตยออกไปปฏิบัติภารกิจนอกวิมาน ก็คืนร่างเป็นนาฏกุเวรคนเดิมด้วยความเสน่หาที่มีต่อนางกากี นาฏกุเวรก็ขอร่วมอภิรมย์สมสู่กับนางกากี โดยขู่ว่าจะไม่เปิดเผยความลับระหว่างเวนไตยกับนาง นางกากีเห็นว่านาฏกุเวรเปิดเผยว่ารักใคร่ตัวนางมาก่อน ก็ยอมสมสู่ด้วย
 
 
 
 
 
   เมื่อถึงกำหนดนัดเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรก็จำแลงเป็นตัวไรเกาะ
ปีพญาครุฑเวนไตยกลับเมืองพาราณสี และได้กราบทูลให้ท้าวพรหมทัตทำเป็น
ไม่ทราบเรื่อง ระหว่างการเล่นสกานาฏกุเวรก็แต่งกลอนยั่วยุให้เวนไตยโกรธ
โดยพรรณาถึงรายละเอียดทุกอย่างที่นางกากีมี แสดงว่านาฏกุเวรได้ร่วมอภิรมย์
รักโดยนางกากีก็สมัครใจ
 
 
   เวนไตยโกรธมากที่นางกากีทรยศต่อตัวเอง เมื่อกลับไปก็คาดคั้นเอาความจริง
กับนางกากี แต่นางกากียอมรับตอนหลังอ้างว่าถูกบังคับ ซึ่งเวนไตยไม่เชื่อและส่งนางกากีกลับคืนเมืองพาราณสี
 
 
   ท้าวพรหมทัตทั้งรักทั้งแค้นทั้งอับอาย ทรงตัดเยื่อใยนางกากีและสั่งให้มหาดเล็ก
นำไปลอยแพในมหาสมุทร
 

กากีตอนที่....3

นางกากีต้องเผชิญเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัส เมื่อนายสำเภามาพบนางสลบไสล
บนแพ เรือนร่างที่สวยงามย่อมเป็นที่หมายปองของนายสำเภา เขาจึงได้นางกากีเป็น
ภรรยา ต่อมาโจรสลัดได้ปล้นเรือนายสำเภาและหัวหน้าโจรบังคับนางกากีให้เป็นภรรยา
อีก ท่ามกลางความอิจฉาริษยาของสมุนโจร เพราะหัวหน้าโจรไม่ยอมแบ่งผู้หญิงให้
เหมือนรายอื่นๆ
 
   ในที่สุดก็เกิดการแก่งแย่งนางกากีกันในหมู่โจร ถึงกับฆ่าฟันกันเอง นางกากีฉวย
โอกาสหลบหนีพวกโจรได้ แต่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายในป่าจนเกือบจะเอาชีวิต
ไม่รอด โชคดียังเป็นของนางกากี ที่บังเอิญมีกษัตริย์ชรานามว่าท้าวทศวงศ์ผู้เป็น
หม้ายแห่งเมืองไพศาลีเสด็จมาเที่ยวป่า ได้นำนางกากีไปชุบเลี้ยงเป็นถึงมเหสี
 
 
   นางกากีไม่บอกความจริงให้ท้าวทศวงศ์เพราะกลัวความไม่ดีของตนเองจะทำให้
ท้าวทศวงศ์ไม่รับอุปการะ จิตใจของนางยังไม่เป็นสุขถึงจะได้เป็นถึงมเหสี แต่
ท้าวทศวงศ์ก็ทรงโปรดปรานมเหสีร่างงามและกลิ่นกายหอม
 
 
  ตั้งแต่ท้าวพรหมทัตลอยแพนางกากีไป ก็ไม่มีความสุขกลับต้องระทมทุกข์ ถึง
กับประชวรและสวรรคตในเวลาต่อมา เนื่องจากพระองค์ไม่มีทายาท ข้าราชบริพาร
จึงได้เลือกผู้ที่เป็นที่รักใคร่ของประชาชนและมีปัญญาเฉียบแหลมขึ้นครองราชย์แทน
นาฏกุเวรได้รับเลือกเป็กษัตริย์แทนท้าวพรหมทัต คนธรรพ์หนุ่มผู้เป็นกษัตริย์ก็ยังรัก
อาลัยนางกากีอยู่ ได้สืบจนทราบว่านางกากีได้เป็นมเหสีของท้าวทศวงศ์ นาฏกุเวรจึง
ส่งสารทวงนางกากีในฐานะที่เคยเป็นมเหสีของกษัตริย์เมืองพาราณสีมาก่อน แต่เ
มืองไพศาลีไม่ยอม จึงได้เกิดสงครามระหว่างสองเมือง ในที่สุดนาฏกุเวรก็ยึดเมือง
ไพศาลีได้ และรับนางกากีกลับมาเป็นมเหสีสมใจปรารถนา


มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์  ตอนที่....1

มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์
                  ในกาลปางก่อน พระเจ้าอาทิตยวงศ์เป็นกษัตริย์ครองเมืองปัญจาลนคร พระมเหสี
       ชื่อพระนางจันทราเทวี ต่อมาพระมเหสึมีพระโอรสซึ่งเมื่อประสูติ  ก็บังเกิดขุมทองสี่ขุม
         ขึ้น ที่มุมปราสาทสี่มุม     พระเจ้าอาทิตยวงศ์จึงประทานนามให้ว่า            "พระสุธน"
         (แปลว่ามีทรัพย์ประเสริฐ-มีทรัพย์มาก)     บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก พระสุธน
         ราชกุมารก็ศึกษาวิชาการมีฝีมือทางการยิงธนู         
               

        วันหนึ่งนายพรานบุณฑริกชาวเมืองปัญจาลนคร    เข้าไปล่าสัตว์ในป่าลึกพบกลุ่มนางกินนรีพี่น้องเจ็ดตนมาเล่นน้ำที่สระ นายพรานเห็นนางกินนรีงดงาม  คิดจะจับนางไปถวายพระสุธน จึงแอบเข้าไปใกล้ๆ เห็นกองปีกหางของนางกินนรีจึงหยิบไว้ชุดหนึ่งส่วนนางกินนรี ทั้งเจ็ด  เมื่อเล่นน้ำเสร็จก็กลับขึ้นมาใส่ปีกใส่หาง  นางมโนห์ราน้องสาวคนสุดท้องหาปีกหาหางของตนไม่พบ  ก็ไม่าสมารถบินกลับพี่ๆ     ทั้งหกก็จำต้องทิ้งนางไป  พรานบุณฑริกจึงนำบ่วงมาคล้องนางไป  และนำไปถวายพระสุธน  พระสุธนยินดีมากจึงประทานทองคำและแก้วแหวนเงินทองให้แก่นายพราน พระเจ้าอาทิตยวงศ์และนางจันทราเทวี  ก็จัดงานอภิเษกสมรส  พระสุธนกับนางมโนห์รา
 
 
 

          ต่อมามีข้าศึกยกมาตีเมืองปลายเขตแดน พระสุธนจึงต้องยกทัพไปปราบ พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งซึ่งเคยคุ่นเคืองใจกับพระสุธนก็แกล้งเท็จทูลพระเจ้าอาทิตยวงศ์ว่านางมโนห์ราเป็นกาลกิณีควรจะจัดบูชายัญเพื่อให้บ้านเมืองเป็นสุข  พระเจ้าอาทิตยวงศ์ไม่เต็มพระทัย เพราะทรงทราบดีว่านางมโนห์ราเป็นที่รักอย่างยิ่งของพระสุธน  แต่ขัดความเห็นของเสนาอำมาตย์ไม่ได้จึงยอมพระทัยจัดพิธีบูชายัญ
นางมโนห์ราเมื่อทราบก็ยินยอมให้ฆ่าบูชายัญแต่ขอปีกขอหางมาประดับเพื่อร่ายรำบูชา  พระนางจันทราเทวีก็รีบนำปีกและหางของนาง กินนรีซึ่งพระสุธนฝากไว้มาให้นางมโนห์ราร่ายรำจนร่างกายคล่องแคล้วแล้วนางก็บินกลับไปยังเขาไกรลาสถิ่นที่อยู่ 
 
          ระหว่างทางนางได้แวะมากราบพระฤาษีกัสสปในป่าและฝากผ้ากัมพลและพระธำมรงค์ไว้ให้พระสุธน ถ้าพระสุธนตามนางมาถึงพระอาศรมของฤาษีและให้ห้ามปรามพระสุธนว่าไม่ควรตามนางไปเพราะทางยากลำบากมากแต่ถ้าพระสุธนยังดื้อดึงที่จะไปก็ขอให้มอบยาผงนี้ให้แก่พระสูธนและให้บอกพระสุธนว่า ........เมื่อถึงป่าไม้มีพิษให้จับลูกลิงไปตัวหนึ่ง เมื่อจะเสวยผลไม้ใดต้องปล่อยให้ลูกลิงกินก่อนแล้วจึงเสวยและ  เมื่อถึงป่าหวายใหญ่ ให้เอาผ้ากัมพลคลุมตัวให้แน่น  นกหัสดีลิงค์จะเข้าใจว่าเป็นเนื้อกวางก็จะโฉบลงมาคาบตัวไป  พอถึงรังนกก็ให้ตบมือนกจะตกใจบินหนีไป พระสุธนก็จะเดินทางต่อไปพบพญาช้างสองตัวต่อสู้กันขวางทางอยู่  ให้เอายาผงทาทั่วตัว แล้วเดินลอดไประหว่างขาช้าง เมื่อเดินทางต่อไปจะพบภูเขาชนกันก็ให้ใช้ยาผงทาตัวแล้วเดินไประหว่างช่องเขา  ต่อไปจะพบยักษ์สูงเจ็ดชั่วลำตาลยืนขวางทางให้ใช้ยาผงโรยลูกศรแล้วยิงให้ถูกอกยักษ์  เมื่อยักษ์ล้มให้เดินไปทางหัวของยักษ์ ต่อไปถึงป่าทึบไม่มีทางออกให้ขึ้นไปซ่อนตัวอยู่ในรังนกยักษ์และเมื่อนกยักษ์บินออกหากินก็ให้ซ่อนตัวอยู่ในปีกของนก พอนกลงหากินก็รีบลงเพราะที่นั่นจะเป็นเขาไกรลาส

มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์ ตอนที่....2  

มโนห์รา หรือ พระสุธนคำฉันท์

           แล้วนางมโนห์ราก็กราบลาพระฤาษีบินไปยังเขาไกรลาส  ท้าวทุมราชบิดาของนางถึงแม้จะยินดีที่นางกลับมาแต่เนื่องจากนางไปอยู่โลกมนุษย์เป็นเวลานาน  จึงให้นางอยู่ในปราสาทต่างหาก และเมื่อครบเจ็ดวันตามเวลาของเขาไกรลาส ก็จะทำพิธีมงคลชำระสระสรงนางมโนห์ราให้หมดกลิ่นสาบของมนุษย์  ฝ่ายพระสุธนเมื่อขับไล่ข้าศึกไปได้แล้วก็รีบกลับพระนครพอรู้ว่านางมโนห์ราบินหนีไปแล้ว ก็เสียพระทัยมากรีบทูลลาพระบิดาและพระมารดาเพื่อติดตามนางมโนห์รา
 
           พระสุธนเดินทางไปพบพระฤาษีกัสสป และได้ทราบความที่นางฝากไว้พระสุธนก็มิได้ย่อท้อ ออกเดินทางและปฎิบัติตามที่นางสั่งทุกประการ  พระสุธนเดินทางเช่นนี้เป็นเวลาถึงเจ็ดปี  เจ็ดเดือน เจ็ดวัน พอถึงวันที่เจ็ดก็มาถึงเขาไกรลาส พระสุธนจึงซ่อนตัวอยู่ที่ใต้ต้นไม้ริมสระน้ำ ไม่ช้าก็มีนางกินนรีบริวารถือหม้อทองคำมาตักน้ำที่สระ  พอถึงคนสุดท้ายพระสุธนก็บันดาลให้นางยกหม้อทองคำไม่ขึ้น         พระสุธนออกมาช่วยยกให้และได้แอบใส่พระธำรงค์ลงในหม้อน้ำนั้น  เมื่อนางกินรีบริวารสรงน้ำให้นางมโนห์ราถึงนางกินนรีคนสุดท้ายรดน้ำเหนือศีรษะนางมโนห์รา  พระธำรงค์ก็หล่นลงมากับสายน้ำนางมโนห์รายกมือขึ้นลูบหน้าแหวนธำรงค์ก็สวมเข้าที่นิ้วก้อยพอดี นางทราบทันทีว่าพระสุธนตามมาถึงแล้วจึงสอบถามนางกินรีที่มาทีหลัง นางกินรีเล่าว่าได้พบชายหนุ่มช่วยยกหม้อน้ำให้นางมโนห์รา  จึงให้นางกินนรีดูแลพระสุธนและส่งเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับไปให้ แล้วนางมโนห์ราก็นำความทูลพระบิดาและพระมารดา
 
           ท้าวทุมราชจึงให้พระสุธนมาเข้าเฝ้าและให้แสดงฝีมือยิงธนู ซึ่งเป็นที่ถูกพระทัยท้าวทุมราช แต่ก็ยังมีการทดสอบอีกขั้นหนึ่ง    โดยให้พระธิดาทั้งเจ็ดพระองค์แต่งกายงดงามเหมือนกันและมานั่งสลับกันอยู่ท้าวทุมราช  จึงให้พระสุธนชี้นางมโนห์ราให้ถูกต้องธิดาทั้งเจ็ดองค์เหมือนกันมาก จนพระสุธนจำนางมโนห์ราไม่ได้ พระสุธนจึงตั้งสัจจาธิษฐานว่าถ้าในชาติก่อนไม่เคยคบหากับภรรยาของผู้อื่นมีจิตใจมั่นคงที่นางคนเดียวแล้ว ขอให้จำนางได้พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นแมลงวันทอง บินรอบศีรษะนางมโนห์รา พระสุธนก็ชี้นางมโนห์ราได้ถูก   ท้าวทุมราชมีความยินดีจัดงานอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์ราแล้วพระสุธน  ก็ขอลาท้าวทุมราชพานางมโนห์รากลับไปเมืองปัญจาลนครพระอาทิตยวงศ์ดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จัดการตบแต่งพระนครและทำการอภิเษกพระสุธนกับนางมโนห์ราให้ครองราชสมบัติ เมืองปัญจาลนครสืบต่อไปอทั้งหมด
  สรุปพระอภัยมณี
พระอภัยมณี
        กล่าวโดยสรุป เรื่องพระอภัยมณีมีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน ตัวละครมีเลือดเนื้อเป็นมนุษย์ที่มีรักโลภโกรธ หลง หึงหวง พยาบาท  
  ตามวิสัยแห่งมนุษย์อุถุชนทั้งหลาย และยังได้สอดแทรกคติสอนใจแก่ผู้อ่านทั้งคดีโลกและคดีธรรม ในด้านลีลาการประพันธ์นับว่าเป็น
เยี่ยม ลีลากลอนไพเราะ ใช้ศัพท์ง่าย มีสัมผัสแพรวพราวทำให้เกิดเสียงเสนาะ และกระบวนกลอนก็ย้อมอารมณ์ผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกโกรธ
 เศร้า รัก ขบขัน รื่นรมย์ไปตามท้องเรื่อง และยังให้ความรู้ทั้งทางด้านสังคม ความเชื่อถือของคนไทย วัฒนธรรมและประเพณี แก่ผู้อ่านนับ
ว่าเรื่องพระอภัยมณีเป็นเพชรน้ำเอกในวรรณคดีไทยสมกับ ชื่อเรื่องเป็นอย่างยิ่ง ดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวไว้ใน
เกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า "ในบรรดาหนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่ได้แต่งไว้ ถ้าจะลองให้ผู้อ่านชี้ขาดว่าเรื่องไหนดีกว่าเพื่อน
ก็น่าจะยุติต้องกันโดยมากว่าเรื่องพระอภัยมณีเป็นดีที่สุด เพราะเป็นหนังสือเรื่องยาวแต่งดีทั้งความคิดที่ผูกเรื่อง"

มัทนะพาธา หรือ ตำนานแห่งดอกกุหลาบ

......ผู้แต่งเรื่องมัทนะพาธา......
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า)
 
มัทนะพาธาหรือตำนานแห่งดอกกุหลาบเป็นพระราชนิพนธ์ในพ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ. 2424 - 2468) เป็นบทละครพูดคำฉันท์ 5 องค์
พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อพ.ศ.2466
วรรณคดีสโมสร ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือแต่งดี เพราะทรงพระราชดำริให้ใช้คำฉันท์เป็นละคร
พูดอันเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก
มัทนา มาจากศัพท์ มทน แปลว่า ความลุ่มหลงหรือความรัก
มัทนะพาธา จึงมีความหมายว่า ความเจ็บปวดและความเดือนร้อนเพราะความรัก
เรื่องย่อ  มัทนะพาธา
เรื่องย่อ  มัทนะพาธา
                จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโ ฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธร ผู้มีเวทมนตร์แก่กล้ามาเข้าเฝ้า สุเทษณ์จึงให้มายา วินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตก อยู่ในฤทธิ์มนตรา
แต่สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้นจึงให้ม ายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หา ตอบด้วย ไม่ว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์
              มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอม สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้ง กลิ่นทั้งรูปซึ่งมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลก มนุษย์ โดยที่ในทุกๆ วันเพ็ญ นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้ 1 วัน 1 คืน และถ้านางมีความรักเมื่อใดนางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุ หลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอ ยู่ได้ และเมื่อนั้นถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง นางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤาษีนามกาละทรรศิน มาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตน
ในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติจึงได้ เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้นการจึงสำเร็จด้วยดี

              วันเพ็ญในเดือนหนึ่ง ท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัต ว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้นได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะ ลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้ อาศรมนั้นทันที ท้าวชัยเสนได้แต่รำพันถึงความรักลึกซึ้งที่มีต่อนางม ัทนา
ครั้นเมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใ ด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาจึงได้พรรณาถึงความรักที่เกิดขึ้นในใจอย่างท ่วมท้นต่อท้าวชัยเสนบ้าง ท้าวชัยเสนซึ่งหลบอยู่จึงได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผ ยตัวออกมา ทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกัน จนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ
ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้นและคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้น มัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤาษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาห์มงคลในป่านั้นเสียก่อน ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไ ปยังพระตำหนักข้างใน ด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑีซึ่งเป็นมเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่า พระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้วและทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยา พระนางจัณฑีแค้นใจนักให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้นก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและให้วิทูรพราหมณ์ หมอเสน่ห์ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปท ูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย
             ครั้นเมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆ ต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่ านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศ ุภางค์ ทหารเอกท้าวชัยเสน พระองค์ทรงกริ้วหนัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่
 


รายชื่อวรรณคดีไทย


[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

  • ดาหลัง (อิเหนาใหญ่) โดยเจ้าฟ้ากุณฑล

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]

[แก้]




นางในวรรณคดีไทย : มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
มโนราห์ จาก พระสุธน-มโนราห์
นางในวรรณคดีไทย : มัทนา จาก มัทนพาธา
มัทนา จาก มัทนพาธา
นางในวรรณคดีไทย : อันโดรเมดา  จาก วิวาห์พระสมุทร
อันโดรเมดา จาก วิวาห์พระสมุทร
นางในวรรณคดีไทย : ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
ตะเภาทอง จาก ไกรทอง
นางในวรรณคดีไทย : ไอ่คำ  จาก ผาแดง-นางไอ่
ไอ่คำ จาก ผาแดง-นางไอ่
นางในวรรณคดีไทย : เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
เพื่อนพี่แพงน้องสองสมร จาก พระลอ
นางในวรรณคดีไทย : รจนา  จาก สังข์ทอง
รจนา จาก สังข์ทอง
นางในวรรณคดีไทย : ศกุนตลา  จาก บทละครรำ ศกุนตลา
ศกุนตลา จาก บทละครรำ ศกุนตลา
นางในวรรณคดีไทย : ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
ละเวงวัณฬา จาก พระอภัยมณี
นางในวรรณคดีไทย : ลำหับ  จาก เงาะป่า
ลำหับ จาก เงาะป่า
นางในวรรณคดีไทย : ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
ระเด่นบุษบา จาก อิเหนา
นางในวรรณคดีไทย : ประทุมวดี  จาก ละครนอกเรื่องโสวัต